วิธีการปรับแต่งเมื่อเริ่มใช้งาน Photoshop ครั้งแรก
เพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการทำงาน ควรปรับแต่งวิธีการใช้งานให้ได้ประสิทธิผลมากที่สุดดังนี้ ..
ตั้งค่า Preferences (Ctrl + k)
(ในที่นี้ จะขอกล่าวเฉพาะที่จำเป็นจะต้องตั้งค่าก่อน การตั้งค่าอื่นๆ ขอเป็นเคสๆไปครับ)
Preferences > General
Color Picker : คือ การเลือกใช้ระบบเลือกสี จะมีให้เลือก 2 แบบ คือ ..
Adobe : คือ แบบที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ (เป็นค่า Default)
Window : คือ แบบเลือกสีที่เป็นของ Win OS (แบบเดียวกับเลือกสี ใน Word, Excel etc.)
Image Interpolation : คือ ตัวเลือกกระบวนการที่จะเกิดขึ้น เมื่อทำการปรับแก้ขนาดของภาพถ่าย ซึ่งค่ามาตรฐาน(ค่า Default) ที่ตั้งมาให้คือ Bicubic (best for smooth gradients), (ตัวเลือกเหล่านี้ จะมีผลในขบวบการ Process ภาพ เอาไว้จะเขียนถึงรายละเอียดต่างๆอีกทีหนึ่ง)
Window : คือ แบบเลือกสีที่เป็นของ Win OS (แบบเดียวกับเลือกสี ใน Word, Excel etc.)
Image Interpolation : คือ ตัวเลือกกระบวนการที่จะเกิดขึ้น เมื่อทำการปรับแก้ขนาดของภาพถ่าย ซึ่งค่ามาตรฐาน(ค่า Default) ที่ตั้งมาให้คือ Bicubic (best for smooth gradients), (ตัวเลือกเหล่านี้ จะมีผลในขบวบการ Process ภาพ เอาไว้จะเขียนถึงรายละเอียดต่างๆอีกทีหนึ่ง)
UI Font Size : คือ ตัวเลือกขนาดของตัวอักษรที่ผู้ใช้งานเลือกใช้ มี Small, Medium, Large
Options
Automatically Launch Bridge : เลือก Option นี้ โปรแกรม Adobe Bridge (โปรแกรมทำงานเกี่ยวรูปภาพประเภทเดียวกับ ACDSee Photo Manager) จะเปิดขึ้นมาทำงานควบคู่กันกับ Photoshop (ถ้าเครื่องไม่แรงจริง ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะจะกินทรัพยากรในระบบอย่างมหาศาลครับ)
(คำเตือน การเปิดใช้งาน Adobe Bridge จาก Photoshop)
Auto-Update Open Documents : เลือก Option นี้ เป็นการสร้างการเชื่อมโยงระหว่างภาพในคอมฯ (disk) เข้าด้วยกัน ในกรณีที่ทำงานเป็นกลุ่มและใช้รูปภาพร่วมกัน (ทำงานผ่าน Server ทาง Internet)
Beep When Done : เลือก Option นี้ จะมีเสียงเตือนเมื่อทำงานใดๆเสร็จสิ้นเช่น เปิดภาพ, เซฟงาน ฯลฯ
Dynamic Color Sliders : เลือก Option นี้ จะเปิดการทำงานของ Color Sliders สำหรับการตั้งค่าสี(ผสมสี) ด้วยตัวเอง (เป็นค่า Default)
(แถบ Color Sliders ในพาเลต Color)
Export Clipboard : เลือก Option นี้ จะกำหนดให้ Export รูปภาพ ใน Clipboard ไปเปิดที่โปรแกรมอื่นได้ (เป็นค่า Default)
Use Shift Key for Tool Switch : เลือก Option นี้ สามารถกด Shift ช่วยเมื่อกดคีย์ลัด ของ Tools Box ในเครื่องมือชุดเดียวกันเพื่อเปลี่ยนเป็นเครื่องมืออื่นๆ, เช่น เมื่อเลือกใช้เครื่องมือ Brush Toolที่มีคีย์ลัดคือ B ก็สามารถกด Shift ค้างไว้แล้วกด B เพื่อเปลี่ยนเป็น Pencil Tool หรือ Color Replacement Tool ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้คีย์ลัดตัวเดียวกัน (เป็นค่า Default)
Resize Image During Paste/Place : เลือก Option นี้ จะเป็นการกำหนดให้รูปภาพที่นำเข้ามา(จากแหล่งอื่น เช่น Copy มาจาก Illustrator ) Paste ลงใน Document ที่เปฺิดอยู่มีขนาดเติมพอดี (ขนาดรูปภาพที่นำมาอาจใหญ่ หรือเล็กกว่าหน้า Document ที่่ทำงานอยู่) -(เป็นค่า Default)
Zoom Resize Windows : เลือก Option นี้ เมื่อเปิดรูปภาพจะแสดงผลออกมาให้พอดีกับหน้าต่าง (Photoshop จะปรับขนาดรูปภาพที่เปิดขึ้นมาให้เห็นได้ทั้งหมด แม้ว่าไฟล์นั้นจะมีขนาดใหญ่มากๆ)
Zoom with Scroll Wheel : เลือก Option นี้ สามารถใช้ Scroll Wheel หมุนเพื่อย่อ-ขยายรูปได้
History Log : เลือก Option นี้ จะสามารถบันทึกทุกเครื่องมือที่ใช้และตัวเลือกต่างๆที่คลิกเลือก เพื่อใช้อ้างอิงได้กับงานในอนาคต
Save Log Item To ..
Metadata : บันทึกข้อมูลลงในไฟล์ภาพ ซึ่งสามารถมองเห็นได้โดยเข้าไปดูที่ File > File Info
Text File : บันทึกข้อมูลลงในไฟล์ประเภท Text File (.txt)
Both : ใช้บันทึกทั้ง2 แบบ
Edit Log Items
Session Only : บันทึกเฉพาะเวลาที่เปิดและปิดไฟล์ในแต่ละไฟล์ และเวลาที่เริ่นต้นและออก
Concise : จะเพิ่มข้อมูลบางอย่างที่คล้ายคลึงกับที่ปรากฏในแผง History
Detailed : จะเพิ่มข้อมูลรวมถึงการตั้งค่าที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน
Edit Log Items
Session Only : บันทึกเฉพาะเวลาที่เปิดและปิดไฟล์ในแต่ละไฟล์ และเวลาที่เริ่นต้นและออก
Concise : จะเพิ่มข้อมูลบางอย่างที่คล้ายคลึงกับที่ปรากฏในแผง History
Detailed : จะเพิ่มข้อมูลรวมถึงการตั้งค่าที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน
Reset All Warning Dialogs : เปิดใช้ "การแจ้งเตือน" ต่างๆกลับมา จากที่ผู้ใช้เคยปิดการแจ้งเตือนไปแล้ว (เลือก Don't show again)
สำหรับผู้เขียนตั้งค่า Option โดยยกเว้น Automatically Launch Bridge เพราะการเปิด Adobe Bridge พร้อมกับ Photoshop จะทำให้ใช้ความจำในเครื่องมากกว่าการดูรูปด้วย Windows Photo Viewer ที่มีอยูในเครื่องอยู่แล้ว หรือจะเป็นโปรแกรมดูรูปอื่นๆที่ติดตั้งเพิ่มเข้าไป เช่น ACDSee Photo Manager ที่มี ACDSee Quick View โปรแกรมตัวเล็กๆ ที่มีใว้สำหรับดูรูปอย่างเดียว, กับ Auto - Update Open Documents เพราะผู้เขียนทำงานคนเดียว ไม่ไ้ต้องแชร์งาน(รูป) กับใคร
Preferences > Performance (ตั้งค่าให้ Photoshop ทำงานได้เร็วขึ้น)
Memory Usage : คือการปรับแต่งโดยการดึงค่าความจำจาก Ram มาใช้ในการประมวลผล ค่า Default จะอยู่ที่ 55% , สำหรับใน Photoshop 32 bit ควรปรับเพิ่มขึ้นทีละ 5% หากพบปัญหา Error ก็ให้ปรับลดลง, หากเป็น Photoshop 64 bit สามารถเพิ่มได้เต็ม 100%
History States : คือการตั้งค่าของจำนวนครั้งที่สามารถย้อนกลับจากงานที่ทำไป (ใช้เพื่อย้อนกลับไปแก้ไขงานที่ได้ทำไว้ในเวลานั้น) หากตั้งจำนวนครั้งไว้มาก ก็จะดึงความจำไปใช้งานมาก มีผลให้ Photoshop ทำงานช้าลง เช่นเดียวกันหากตั้งไว้น้อย ก็ย้อนกลับไปแก้ใขได้น้อย (ในกรณีที่ทำ Graphic ที่ซับซ้อนมาก)
Cache Levels : การทำ Image Cache คือการกำหนดให้ Photoshop สามารถแสดงผลภาพที่มี High-resolution ให้แสดงผลกับภาพที่หน้าจอเป็นแบบ Low-resolution เพื่อการแสดงผลที่รวดเร็ว โดยเลือกกำหนดได้ตั้งแต่ 1-8 ถ้าตัวเลขยิ่้งมากโปรแกรมก็จะทำงานช้าลง เช่นกำหนดค่าเป็น 8 จะเปิดไฟล์ภาพช้าลง แต่ประสิทธิภาพของ Photoshop จะดีกว่า ตรงข้ามหากกำหนด Level เป็น 2 จะเปิดภาพไวมาก แต่ Photoshop จะทำงานช้ากว่า (ค่าปกติคือ 4)
Scratch Disks : คือการจำลองเนื้อที่ของ Hard Disk (scratch disk) บางส่วนมาทำเป็น Cache หรือหน่วยความจำเสมือนเพื่อให้มีการเขียนอ่านข้อมูลที่ไวขึ้น ควรเลือกไดรว์ ที่มีพื้นทีเหลือมากพอที่จะนำมาใช้
ทั้งนี้ การตั้งค่าใน Preferences เป็นเพียงวิธีหนึ่ง ที่สามารถทำให้ Photoshop ทำงานได้เร็วขึ้น ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถช่วยใด้อีก เช่น ขนาดของไฟล์, การเลือกใช้เครื่องมือ และอื่นๆอีกหลายชนิด รวมทั้ง Hardware ของ Computer เองด้วย ซึ่งจะหาโอกาสเขียนถึงต่อไป
ในเมื่อพูดถึงการทำให้ Photoshop ทำงานใด้เร็วขึ้น ก็เลยคิดถึงการใช้ Short Cut Key เรียกเครื่องมือมาใช้งาน ก็จะช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้นเช่นกัน และยังจะแสดงถึงความเป็น Professional ด้วย
History States : คือการตั้งค่าของจำนวนครั้งที่สามารถย้อนกลับจากงานที่ทำไป (ใช้เพื่อย้อนกลับไปแก้ไขงานที่ได้ทำไว้ในเวลานั้น) หากตั้งจำนวนครั้งไว้มาก ก็จะดึงความจำไปใช้งานมาก มีผลให้ Photoshop ทำงานช้าลง เช่นเดียวกันหากตั้งไว้น้อย ก็ย้อนกลับไปแก้ใขได้น้อย (ในกรณีที่ทำ Graphic ที่ซับซ้อนมาก)
Cache Levels : การทำ Image Cache คือการกำหนดให้ Photoshop สามารถแสดงผลภาพที่มี High-resolution ให้แสดงผลกับภาพที่หน้าจอเป็นแบบ Low-resolution เพื่อการแสดงผลที่รวดเร็ว โดยเลือกกำหนดได้ตั้งแต่ 1-8 ถ้าตัวเลขยิ่้งมากโปรแกรมก็จะทำงานช้าลง เช่นกำหนดค่าเป็น 8 จะเปิดไฟล์ภาพช้าลง แต่ประสิทธิภาพของ Photoshop จะดีกว่า ตรงข้ามหากกำหนด Level เป็น 2 จะเปิดภาพไวมาก แต่ Photoshop จะทำงานช้ากว่า (ค่าปกติคือ 4)
Scratch Disks : คือการจำลองเนื้อที่ของ Hard Disk (scratch disk) บางส่วนมาทำเป็น Cache หรือหน่วยความจำเสมือนเพื่อให้มีการเขียนอ่านข้อมูลที่ไวขึ้น ควรเลือกไดรว์ ที่มีพื้นทีเหลือมากพอที่จะนำมาใช้
ทั้งนี้ การตั้งค่าใน Preferences เป็นเพียงวิธีหนึ่ง ที่สามารถทำให้ Photoshop ทำงานได้เร็วขึ้น ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถช่วยใด้อีก เช่น ขนาดของไฟล์, การเลือกใช้เครื่องมือ และอื่นๆอีกหลายชนิด รวมทั้ง Hardware ของ Computer เองด้วย ซึ่งจะหาโอกาสเขียนถึงต่อไป
ในเมื่อพูดถึงการทำให้ Photoshop ทำงานใด้เร็วขึ้น ก็เลยคิดถึงการใช้ Short Cut Key เรียกเครื่องมือมาใช้งาน ก็จะช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้นเช่นกัน และยังจะแสดงถึงความเป็น Professional ด้วย
Photoshop Short Cut Key ที่ใช้บ่อยๆ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น